Thursday, November 26, 2009

My first 3Ds by Sketch Up With Vray

สำหรับครั้งแรกกับการใช้ Vray ของ Sketchup งานนี้ก็เป็นคอนโดมิเนียม 7ชั้น พร้อมสระว่ายน้ำ และส่วน Sale Office และ ส่วนอาคารที่แสดงห้องตัวอย่างด้วยครับ ไซด์อยู่แถวๆ ไม่บอกดีกว่าครับเป็นความลับของทางราชการ เอาเป็นว่างานนี้ผมลองใช้ Vray แล้วก็เรนเดอร์ดูครั้งแรกจริงๆ ครับ เรื่องแสดงเงา ยังไม่ค่อยจะสู้ดีเท่าไหร่ นั่งงมเป็นไก่ตาฟางอยู่เกือบๆ อาทิตย์ก็ได้มาสองแบบตามนี้หละครับ

แบบแรกครับ ออกแบบโดย พี่มุ้ย หัวหน้าผมเองครับ งานนี้ได้เลือกเข้าไปสร้างจริงแล้วครับ
ตอนนี้(26พ.ย.2552)อยู่ระหว่างทำแบบขออนุญาตอยู่ครับ ปีหน้าคงได้สร้างจริงๆ แล้วล่ะ

แบบที่สอง ออกแบบโดยผมเองครับ อันนี้ถึงจะไม่ได้สร้างแต่ก็ถูกใจลูกค้าเหมือนกันครับ
ตอนเอาไปประชุมก็พลิกแล้วพลิกอีกเหมือนกัน กว่าจะเลือกแบบแรกไป เฮ้อ น่าเสียดาย แต่ไมเป็นไรครับ งานหน้าคงได้แก้มือกันใหม่

ส่วนตัวใช้สเกตอัพมานานไม่รู้ว่าสามารถใช้ Vray ได้น่าพอใจขนาดนี้ครับ ไม่น่าเชื่อๆ
อีกหน่อยหวังว่าผมคงคล่องขึ้นเรื่อยๆ ครับ แล้วจะเอามาอัพลงไปเรื่อยๆ ละกัน

Thursday, August 27, 2009

ขั้นตอนการสร้างบ้าน

ขั้นตอนการปลูกสร้างบ้าน
การที่มีบ้านเป็นของตัวเองย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไป เพราะบ้านเป็นสิ่งที่ให้ความร่มรื่น สุขสบายทั้งกายและใจ แต่การที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังหนึ่งนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้มา เนื่องจากปัจจุบันบ้านมีราคาค่อนข้างสูง นับเป็นภาระอันหนักหนาสาหัสพอสมควรสำหรับคนทั่วไปที่มีรายได้ปานกลาง ยกเว้นคนที่ร่ำรวยเท่านั้นที่จะไม่เดือดเนื้อร้อนใจในเรื่องนี้เท่าใดนัก ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจปลูกบ้านสักหลัง จึงควรที่จะต้องศึกษาขั้นตอนการดำเนินการให้ละเอียดรอบคอบ เพราะถ้าตัดสินใจผิดพลาดไปแล้ว อาจไม่มีโอกาสให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหมือนกับการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า ได้ และถ้าเป็นเช่นนั้น บ้านที่หวังว่าจะนำความสุขความสบายให้ความร่มรื่น อาจกลับกลายเป็นความทุกข์ตลอดชีวิตก็เป็นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงต้องคำนึงถึงขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับการปลูกสร้างบ้าน ดังนี้
1. กำหนดรูปแบบและขนาดของบ้าน
เมื่อท่านมีแผนที่จะปลูกบ้าน ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องมีแบบบ้านที่อยากได้อยู่ในใจแล้ว ว่ารูปทรงของบ้านจะเป็นแบบใด ซึ่งในปัจจุบันนี้ บริษัทรับออกแบบและก่อสร้างบ้านมีอยู่มากมาย ที่นำเสนอแบบแปลกๆ ใหม่ๆ ให้เลือกไม่ว่าจะเป็นแบบทันสมัย แบบร่วมสมัย หรือแบบทรงยุโรป เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องคำนึงขนาดและจำนวนห้องให้พอดีกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว ถ้าเล็กไปคงจะอึดอัดคับแคบ แต่ถ้าใหญ่เกินไปจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น หรืออาจจะต้องมีสระว่ายน้ำ หรือสวนหย่อมภายในบ้าน ก็แล้วแต่จะพิจารณาตามความต้องการของท่านหรือสมาชิกในครอบครัว
2. การเลือกบริษัทรับออกแบบบ้าน
เมื่อได้กำหนดรูปแบบ ขนาดและองค์ประกอบต่างๆ ของตัวบ้านไว้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การจัดทำแบบรูปรายการและข้อกำหนดต่างๆ เมื่อยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารกับหน่วยราชการเจ้าของพื้นที่ที่ท่านต้อง การปลูกสร้างบ้าน หรือถ้าท่านจำเป็นต้องกู้ธนาคาร ก็ต้องแนบแบบรูปรายการให้ธนาคารพิจารณาด้วยซึ่งการจัดทำแบบดังกล่าวอาจทำได้ หลายวิธี เช่น จ้างสถาปนิกอิสระโดยตรง หรือจ้างบริษัทรับออกแบบและก่อสร้างบ้านแบบครบวงจร เป็นต้น แต่ข้อสำคัญต้องกำหนดรายละเอียดองค์ประกอบของบ้านให้ชัดเจนครบถ้วนและตรวจ สอบรูปร่างความสวยงามลงตัวของบ้านให้เป็นไปตามความต้องการให้แน่ใจก่อนที่จะ ลงนามในสัญญาว่าจ้าง และเมื่อแบบแล้วเสร็จก่อนจะชำระค่าดำเนินการต้องตรวจสอบรายละเอียดของแบบ ก่อน ดังนี้
- ตรวจสอบแบบแปลนให้แน่ใจว่า ห้องต่างๆ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน แม้กระทั้งบันไดขึ้นลงและเฉลียง ระเบียงต่างๆ ได้ถูกจัดวางตามความต้องการของท่านอย่างถูกต้องแล้ว
- ตรวจสอบรูปด้านทั้ง 4 ด้านว่ามีความสวยงามจนเป็นที่พอใจ
- ตรวจสอบรายการวัสดุต่างๆ เช่น สุขภัณฑ์ กระเบื้องห้องน้ำ กระเบื้องพื้นชั้นล่าง ไม้ปาร์เก้ รายละเอียดประตูหน้าต่าง ฯลฯ ให้ครบถ้วนจนเป็นที่พอใจ
- ตรวจสอบผังบริเวณบ้านว่าถูกจัดวางในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว
รายการตามที่กล่าวมานี้หากยังไม่ถูกต้องมีส่วนที่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ให้รีบแจ้งผู้ออกแบบดำเนินการแก้ไข แล้วตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งที่มีการแก้ไขจึงจ่ายค่าดำเนินการ
3. การเลือกบริษัทรับก่อสร้างบ้าน
เมื่อมีรูปแบบรายการข้อกำหนดของวัสดุต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนก่อสร้าง การเลือกบริษัทรับก่อสร้างบ้านที่จะมีสร้างบ้านให้ท่านนั้น ควรพิจารณาข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ให้รอบคอบชัดเจนเป็นที่แน่ใจเสียก่อนที่จะทำการว่าจ้างให้เป็นผู้ปลูกสร้าง บ้านให้ดูข้อมูลที่จะต้องพิจารณาประกอบไปด้วย
- ชื่อเสียง ผลงานที่ผ่านมาหรือประวัติของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่ามีประวัติการก่อสร้างเป็นอย่างไร บ้านที่เคยสร้างมามีคุณภาพดีหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ อาจขอดูบ้านที่บริษัทนั้นเคยสร้างไว้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
- การให้บริการหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ ควรหาข้อมูลว่าบริษัทฯ มีการบริการหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จอย่างไร มีการติดตามดูแลลูกค้าดีสม่ำเสมอหรือไม่ และการเข้าบริการช้าหรือเร็วแค่ไหน เป็นต้น
- ทรัพยากรของบริษัท ควรตรวจสอบว่าบริษัทดังกล่าว มีพรัพยากรที่เพียงพอที่จะสามารถก่อสร้างบ้านของท่านให้มีความสุขดีหรือไม่ ทีมก่อสร้างมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากน้อยเท่าใด เช่น วิศวกรโครงการ ช่างควบคุมงาน ผู้บริหารการก่อสร้างมืออาชีพ เป็นต้น
เมื่อได้พิจารณาสิ่งต่างๆ ตามที่กล่าวมาจนเป็นที่แน่ใจแล้ว จึงทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
4. การทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้าน
เมื่อตัดสินใจทำสัญญาว่าจ้างให้บริษัทรับก่อสร้างบ้านเป็นผู้ปลูกสร้างบ้าน ให้กับท่านแล้ว ควรพิจารณารายละเอียดในสัญญาให้รอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งงวดงาน การรับประกันสิ่งปลูกสร้าง กำหนดเวลาแล้วเสร็จหรือเงื่อนไขอื่นๆ จนเป็นที่พอใจ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาข้อขัดแย้งในภายหลัง เพราะหากดำเนินการก่อสร้างไปแล้วเกิดข้อขัดแย้งจะทำให้เกิดผลกระทบในทางลบ ของทุกฝ่าย
5. การจัดเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง
หลังจากที่ทำสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านแล้ว ท่านจะต้องจัดเตรียมสถานที่ก่อสร้างบ้านของท่านให้พร้อมที่จะลงมือดำเนินการ ก่อสร้าง เช่น ถ้ามีบ้านเก่าอยู่ก่อนต้องรื้อถอนให้เรียบร้อยหรือถ้าเป็นพื้นที่มีระดับต่ำ ต้องทำการถมบดอัดให้สูงพ้นจากสภาวะน้ำท่วมให้แล้วเสร็จ แต่ถ้าต้องมีการย้ายเสาไฟฟ้า ประปา หรือสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่กีดขวาง ก็ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนที่จะแจ้งให้บริษัทเข้าดำเนินการ
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อแนะนำในขั้นตอนการปลูกสร้างบ้าน ให้ท่านได้ศึกษา เตรียมพร้อมก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงมือปลูกสร้างบ้านเท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีรายละเอียดในส่วนที่ต้องตรวจสอบในระหว่างการก่อสร้างอีกมากมายที่ ต้องดำเนินการ
อย่างไรก็ตามหากท่านสามารถปฎิบัติได้ตามขั้นตอนขั้นต้นแล้ว ความผิดพลาดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการปลูกสร้างบ้านจะมีน้อยมากหรืออาจไม่มีเลยก็ได้ แล้วบ้านก็จะเป็นสถานที่ให้ความสุขกับท่านและครอบครัวตลอดไป
6. ขั้นตอนงานก่อสร้าง
ปกติแบ้วงานก่อสร้างบ้านพักอาศัยจะแบ่งลักษณะงานเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
6.1 งานฐานราก และโครงสร้าง
6.2 งานผนังและหลังคา
6.3 งานช่องเปิดต่างๆ
6.4 งานระบบไฟฟ้า ประปา
6.5 งานตกแต่งสถาปัตยกรรม

6.1 งานฐานราก และโครงสร้าง

เป็นงานที่มีความสำคัญที่สุด โดยปกติหากมีความผิดพลาดในงานส่วนนี้ หรือต้องการเปลี่ยนแปลงภายหลังจะมีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสูง ดังนั้นท่านเจ้าของบ้านควรตัดสินใจให้แน่นอนเกี่ยวกับขนาดของห้องต่างๆ และตำแหน่งที่ตั้งก่อนลงมือตอกเสาเข็ม เพื่อป้องกันปัญหาการเปลี่ยนแปลงหลังจากงานโครงสร้างเริ่มต้นไปแล้วเนื่อง จากในการออกแบบโครงสร้างจะมีความสัมพันธ์กันทั้งอาคารการเปลี่ยนแปลงแฉพาะ ส่วนใดส่วนหนึ่ง บางครั้งจะกระทำมิได้ อีกทั้งการก่อสร้างในช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 35% ของเวลาทั้งหมด และจะเป็นอุปสรรคต่องานอื่นๆ หากไม่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้
6.2 งานผนังและหลังคา
งานส่วนนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสวยงามของตัวบ้าน และยังมีผลโดยตรงต่อการใช้งานอาคารในด้านการป้องกันความร้อนฐ แสงแดด และน้ำฝน การตัดสินใจเลือกวัสดุที่จะใช้และขนาดระยะต่างๆ จะต้องเหมาะสมกับการใช้สอยและไม่ก่อให้เกิดปัญหาภายหลัง
6.3 งานช่องเปิดต่างๆ
หมายถึงประตูและหน้าต่างทั้งหลาย ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มความสวยงามให้อาคารแล้วยังมีผลต่อระยะเวลาก่อสร้าง เนื่องจากโดยปกติงานส่วนนี้จะต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้าตั้งแต่การจัดเตรียม ช่องเปิดของผนัง และการสั่งผลิตจากผู้จัดจำหน่าย อีกทั้งจะกระทบต่อการจัดวางตำแหน่งของเฟอร์นิเจอร์และงานระบบต่างๆ การตัดสินใจกำหนดตำแหน่งจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ระหว่างก่อสร้างจะกระทบถึงค่าใช้จ่ายในงานก่อ สร้างมากที่สุด
6.4 งานระบบไฟฟ้า ประปา
ศูนย์อำนวยความสะดวกของอาคารคืองานระบบเหล่านี้ หากถูกออกแบบมาไม่เหมาะสม หรือติดตั้งผิดตำแหน่งจะทำให้การใช้ประโยชน์ในอาคารเกิดความไม่สะดวกหรือ เกิดอันตรายในบางกรณี เช่นงารไฟฟ้า ดังนั้นจะต้องไตร่ตรองถึงการใช้สอยในส่วนต่างๆ ของอาคารให้รอบคอบก่อนกำหนดตำแหน่งลงไป
6.5 งานตกแต่งสถาปัตยกรรม
สุดท้ายบ้านจะสวยงามเป็นที่ภาคภูมิใจของท่านเจ้าของบ้านเพียงใดขึ้นอยู่กับ การเลือกประเภทวัสดุตกแต่งผิว ทั้งผิวพื้น ผนัง รวมถึงสีที่เลือกใช้ล้วนบ่งบอก รสนิยม อุปนิสัย บางครั้งรวมถึง ความปลอดภัยในการอยู่อาศัย เช่นวัสดุพื้นที่ลื่นหรือหยาบในบางตำแหน่ง และมักจะเป็นส่วนที่มีมูลค่ามากเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของอาคาร ทั้งนี้มิได้หมายความว่าวัสดุตกแต่งที่มีราคาแพงจะต้องดีเสมอไป ซึ่งผู้ที่จะช่วยท่านตัดสินใจได้ดีในเรื่องนี้คือ สถาปนิกที่ปรึกษาของท่านนั้นเอง

-------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลจาก : www.perfectbuilder.co.th

Sunday, June 28, 2009

Le Corbusier : เลอ คอร์บูซิเยร์

ลอคอบูซิเยร์ (Le Corbusier) มีชื่อจริงว่า Charles-Edouard Jeanneret เป็นสถาปนิก นักวางผังเมือง จิตรกร ชาวฝรั่งเศส เกิดที่เมือง Chaux-de-Fonds ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1887 เสียชีวิตในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือน 27 สิงหาคม ค.ศ. 1965 เขาได้คิดค้นระบบของสัดส่วน ของการออกแบบทางสถาปัตยกรรม - Modulor ซึ่งกำหนดจากพื้นฐานของสัดส่วนมนุษย์ จากความสูง 1829 มม

ประวัติ
เลอ คอบูซิเยร์ (1887-1965) เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1887 ที่เมือง Chaux-de-Fonds ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในแถบสวิสซึ่งที่นั้นเป็นศูนย์กลาง ของการทำนาฬิกา พ่อเป็นคนสลักและลงยาหน้าปัทม์นาฬิกา ส่วนแม่เป็นครูสอนเปียโน

พอ อายุได้ 13 ปี เขาออกจากกิจการของครอบครัวออกเที่ยวไปในยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน ไปอยู่ปารีสและได้ทำงานกับ Auguste Perret ต่อจากนั้น ไปอยู่เยอรมันไปเป็นผู้ช่วย behren และกลับมาเป็นครูที่โรงเรียน Chaux-de-Fonds เขาได้ไปทำงานเป็นจิตรกร ที่ปารีส และได้ทำงานด้านผังเมือง ได้สร้างเมืองใหม่ Chandigarh ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย

ใน ปี 1913 ไปอยู่ปารีส ซึ่งในขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของศิลปะคิวบิสม์ และเซอร์เรียวลิสม์ ต่อมาในปี 1930 ได้โอนสัญชาติมาเป็นสัญชาติฝรั่งเศส และเขาได้เสียชีวิตขณะว่ายน้ำเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1965


แนวความคิดในการออกแบบ

ตัว เขาไปสร้างศิลปะแบบ purism โดยยึดถือความคิดเกี่ยวกับรูปทรงอย่างเดียว พร้อมกับคำพูดของเขาที่ว่า “ a house is a living in “ หมายความว่า บ้านพักอาศัยควรสนองประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง คอร์บูมองเห็นว่า บ้านนั้นเป็นผลิตผลของผู้บริโภคเหมือนกับรถยนต์ ซึ่งผลิตชิ้นส่วนออกมาจากโรงงานและด้วยการผลิตทางอุตสาหกรรมนี้ บ้านก็ควรมีชิ้นส่วนที่ผลิตออกมาจากโรงงาน(แล้วเลื่อนออกมาตามสายพานเหมือน ชิ้นส่วนของรถยนต์ ) และด้วยหลักการนี้ก็เข้าครอบงำสถาปนิกตั้งแต่นั้นมา ความจริงแล้วคอร์บู ได้แรงบันดาลใจจากภาพจำลองของเครื่องจักรและอาศัยสิ่งเหล่านี้ไปสร้างสรรค์ สไตล์ใหม่ๆ ซึ่งไม่มีการเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม บ้านของเขาก็ดูคล้ายๆ เครื่องจักร แต่ละส่วนแสดงออกอย่างชัดแจ้งเหมือนชิ้นส่วนของเครื่องจักร ปล่องระบายอากาศบนหลังคาก็ดูคล้ายปล่องเรือกลไฟ บ้านที่รู้จักกันดีก็คือ Villa Savoye นอกกรุงปารีส ซึ่งถูกเปรียบเทียบกับเฮลิคอปเตอร์ที่ตั้งอยู่บน landscape ที่เกี่ยวเนื่องกับคติทางคลาสสิคและยุคเครื่องจักรกล คอร์บูเป็นผู้สนับสนุนความคิดแบบฟิวเจอร์ริสท์ โดยการแสดงออกให้เห็นสังคมใหม่แทนที่จะให้สถาปัตยกรรมเป็นผู้กำหนดโลกใหม่ เขากลับมีความต้องการที่จะออกแบบสังคมใหม่ด้วยจินตนาการของเขาเอง ชื่อ คอร์บูสิเอร์เป็นฉายาที่ตั้งขึ้นเองแปลว่าอีกา

คอร์บูได้เปลี่ยน สไตล์ของเขา หลังสงครามเขาก็ทิ้งความตั้งใจที่ชอบผลิตผลของเครื่องจักรที่มีผิวพื้นที่ เรียบลื่นและหันไปชอบสไตล์ใหม่ ซึ่งเขาเรียกว่า brutism คือความหยาบของผิววัสดุ เมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นว่าคอร์บูมักทำโครงสร้างแบบ “ คอนกรีตเปลือย “ และเขาเห็นว่าอาคารนั้นไม่เหมาะกับคนแต่ควรทำให้คนเหมาะกับอาคารจึงกำหนดสัด ส่วนของอาคารให้เหมาะสมแทน

ด้วยแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ใน ยุค modern movement เขาได้ออกแบบโบสถ์ chaple at ronchamp ถือเป็นงานชั้นโบว์แดงของเขา มีลักษณะเล่น ลูกเล่นแบบ plastic quality ของดินเหนียว ใช้รูปทรงที่แรงแทนสัญญลักษณ์ทางศาสนา งานนี้มีลักษณะเห็นถึงพลัง และมีความเป็นตัวเองได้อย่างมีเอกลักษณ์

คอร์ บูได้สร้างสรรค์ ศิลปะหลายแขนง เป็นประติมากร โดยทุกเช้าจะเล่นน้ำทะเลให้คลื่นสัดสาดตัวแล้วจะขึ้นมาทำงานประติมากรรม เสร็จแล้วก็จะเรี่มงานสถาปัตยกรรม เป็นนักผังเมืองมีความคิดกว้างไกลจากยุคที่ตนมีชีวิตอยู่ ว่าควรจัดระบบ จัดโซนของการใช้เมืองอย่างไรจึงจะได้ผล เขาถือความงามเป็นสิ่งสัจจะ เป็นสิ่งที่ดีและหาได้ยากจะได้มาก็ต้องผ่านการเลือกเฟ้นเท่านั้น

ลักษณะสถาปัตยกรรม 5 ประการของ เลอคอบูซิเยร์
ในสิ่งตีพิมพ์ เขาได้เสนอความคิดที่สำคัญตั้งแต่สมัยแรกๆ คือ five points of modern architecture

ยกพื้นสูงลอยตัว มีลักษณะเบา แบบนี้เป็นเรื่องใหม่ของตะวันตกที่เคยชินกับ
มีรูปทรง (Mass) ที่ทึบตันและติดดิน
จัดแผนผังพื้นที่ใช้สอย เป็นอิสระจากโครงสร้าง (free plan)
ใช้ ribbon window
ใช้ roof garden


งานนิพนธ์สำคัญ
Vers une Architecture (Towards a New Architecture)
Urbanisme (The City of Tomorrow)
L'Art decoratif daujourd'hui
La Peinture Moderne
le moduler


-------------------------------------------------


เลอ คอร์บูซิเอ เป็นผู้นำอีกกลุ่มหนึ่งที่เคยคลุกคลีมากับกลุ่มของ โกรเปียส ดังนั้น นอกจากจะเห็นชอบในหลักการเรื่องประโยชน์ใช้สอยและความสง่างามเกิดขึ้นได้จาก การจัดมวล และสัดส่วนอันพอเหมาะแล้ว โดยกำหนดทิศทางวิชาชีพแรกเริ่มแล้ว คอร์บู ได้เป็นศิลปินด้วยเหตุที่เป็นผู้ค้นคว้าเรียนรู้ และคบหาสังคมกับกลุ่มผู้บุกเบิกสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ จึงทำให้ขเามีแนวความคิดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่แตกต่างเพิ่มขึ้นจากกลุ่มอื่นอีก สถาปนิกที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้อีกท่านหนึ่งได้แก่ หลุยคาห์น ที่ยึดหลักการพื้นฐานเดียวกันแต่ หลุยคาห์นมีความถนัดในการใช้คอนกรีตโครงสร้างได้แหลมคมกว่าเช่นเรื่อง Prestress Concrete และเรื่อง
อาคารสำเร็จรูปและเรื่องความเว้นว่างริชชาร์ดมายเออร์ก็ยอมว่าเลอคอร์บูซิเอมีอิทธิพลต่อการใช้ทรวดทรงและ
การใช้แสงในอาคารได้เขามากซึ่งพอจะนำกฎเกณ์ของ เลอ คอร์บูซิเอ มารวบรวมไว้ได้คือ

หลักการออกแบบ 5 ข้อของเลอ คอร์บูซิเอ

1. อาคาร ควรจะวางอยู่บนเสา เพราะอาคารในสมัยก่อนหน้านี้มักจะวางอยู่บนพันดินโดยตรง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความชื้นภายในอาคารทำให้อาคารชำรุดเร็วและผู้อาศัยเสีย สุขภาพ ห้องต่างๆภายในอาคารจะไม่ได้รับแสงสว่างเพียงพอ ผลจากการยกอาคารสูงได้ประโยชน์ในเรื่องการระบายอากาศได้แสงสว่างเพิ่มขึ้น และมีความปลอดภัยมากกว่า แนวความคิดนี้เขาได้นำไปใช้ในอาคารใหญ่ เช่น แฟลต หอพัก หรืออาคารสำนักงาน ดังจะเห็นว่าเสาที่รองรับอาคารมีขนาดใหญ่มากโดยมีส่วนหนึ่งเป็นช่องสำหรับ เดินท่อต่างๆ ของส่วนบริการไปด้วย
2. อาคาร จะมีดาดฟ้าสำหรับเป็นที่พักผ่อนในสมัยก่อนหลังคาเอียงลาดเพื่อรองรับน้ำฝนแล หิมะ ซึ่งเหมาะสำหรับวัสดุมุงซึ่งเป็นกระเบื้องในสมัยนั้น แต่ปัจจุบันเราใช้พื้นคอนกรีตแบนราบแทนเราจึงออกแบบให้มีการใช้สอยในส่วนนี้ ด้วย
3. ควรใช้ระบบโครงสร้างแบบถ่ายน้ำหนักลงที่คานและเสา(Skeleton Constuction)ทำให้การจัดวางที่ว่างภายในอาคารมีอิสระมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีผนังทึบตลอดหรือส่วนมากเพราะผนังมิได้รับน้ำหนัก คานและเสาคอนกรีตเสริมเหล็ฏได้รับน้ำหนักแทนจึงสามารถเปิดหน้าต่างประตูได้อย่างอิสระ ทำให้รูปด้านของอาคารมีลักษณะแปลกและสนองประโยชน์ใช้สอยได้อย่างเต็มที่
4. ผลจากการใช้โครงสร้างในข้อ 3 จึงทำให้ผนังมีความสัมพันธ์กัะบเสาน้อยลงอาจจัดให้เสาลอยนอกผนังอาคาร หรือเอาผนังไปไว้นอกแนวเสาก็ได้ ดังนั้นจึงสามารถนำวัสดุที่เบามาใช้ในส่วนนี้ได้ วัสดุดังกล่าวได้แก่ โครงเหล็กและแผ่นกระจก ซึ่งที่จริงทำให้เกิดระบบกำแพง หรือผนังแขวนลอยนั้นเอง(Curtian Wall)
5. ผลจากโครงสร้างและการใช้ผนังโปร่งเบา ทำให้ความสัมพันธ์ภายในและภายนอกมีบรรยากาศดีขึ้น โดยที่มีผลในเรื่องการป้องกันความร้อนและความชื้น

ทฤษฎีโมดูล่า ได้มาจากปัจจัย 5 อย่างคือ

1. มุมฉากที่ได้รับการพิจารณา คัดเลือก มาประกอบเป็นสัดส่วนในงานสถาปัตยกรรม แล้ทำให้เกิดความประทับใจเมื่อได้สัมผัสด้วยสายตา
2. ความที่มนุษย์ไม่เคยเห็นความงามมากได้เท่าที่เคยได้ยินมาจากเสียงดนตรีที่ละเอียดและไพเราะ ซึ่งสามารถรวบรวมไว้ด้วยมิติ ซึ่งมีความก้าวหน้าและมีความกลมกลืนกันอย่างยิ่ง ซึ่งในอดีตชาวกรีกอาจจะเคยรู้จริงในข้อนี้จึงสามารถสร้างสรรค์งานที่เป็นอมตะขึ้นมาได้ แต่ก็ไม่สามารถCondifiedได้ ซึ่งต่างกับดนตรีซึ่งถูก Condified ได้ตั้งแต่สมัยของบ๊าค
3. ความ จริงที่ยอมรับกันมาในอดีตแล้ว เกี่ยวกับเรื่องของสัดส่วน เช่นสัดส่วน 8 ต่อ 3ซึ่งถือเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ดูน่าพอใจ หรือสัดส่วนที่เรียกว่าGolden Section(สัดส่วนสมบูรณ์ลักษณ์)ซึ่งมีด้านยาวเท่ากับเส้นทะแยงมุมของรูปสี่ เหลี่ยมจัตุรัสที่เกิดจากด้านสั้นของมัน ซึ่งสัดส่วนเหล่านี้ทำให้เกิดความพอใจเมื่อได้เห็น ไม่วาจะเป็นกรอบรูป กรอบหน้าต่าง หรือที่เป็นขนาดใหญ่ เช่น รูปด้านของอาคาร หรือแม้แต่จัตุรัสใจกลางเมือง
4. ความจริงซึ่งมนุษย์สามารถสร้างสัดส่วนที่สวยงามได้และได้เคยสร้างมาแล้ว เช่น สัดส่วนสมบูรณ์ลักษณ์ ล้วนเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งสามารถหาชุดอนุกรมของสัดส่วน ซึ่งค่อยๆใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ในทางตรงข้าม ซึ่งแต่ละสัดส่วนจะมีความสัมพันธ์กัน กลมกลืนกันในลักษณะตรงที่ว่า สัดส่วนที่ใหญ่กว่าสามารถนำเอาสัดส่วนที่เล็กกว่าหลายๆชั้น บรรจุลงได้
5. สัดส่วนนั้นควรจะสามารถบรรจุสัดส่วนที่เกี่ยวกับมนุษย์ได้ เช่น คนยืนชูแขน คนนั่ง คนยืน โดยสัดส่วนได้นั้นมาจากมนุษย์

เรื่องโมดูล่าของเลอ คอร์บูซิเอ ที่กล่าวมาแล้งทั้งหมดเป็นที่ยอมรับกันว่า เขายึดมั่นในเรื่องที่เกี่ยวกับสัดส่วนที่ดีกับเรื่องของGolden Sectionแล้วนำสัดส่วนที่ว่าดีแล้วมาทำให้เกิดความสัมพันธ์กับสัดส่วนของมนุษย์ แล้วจึงเป็นข้อมูลในการออกแบบอาคาร

การคำนวณทางเรขาคณิตและคณิตศาสตร์




โมดูเลอร์คือระบบการวัดสัดส่วนในวานออกแบบที่สามารถใช้เป็นมาตรวัดตั้งแต่ชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเล็กๆ ไปถึงขนาดของอาคารจนกระทั่งสัดส่วนของเมืองทั้งเมืองโดยมีนัยยะสำคัญว่าสัดส่วนของงานออกแบบทั้งหลาย นั้นสัมพันธ์กับสัดส่วนการใช้สอยและการมองเห็นของมนุษย์อย่างมากที่สุดนอกจากนี้ยังเป็นสัดส่วนที่สามารถ
ปรับเข้าใช้กับผู้ใช้ทั่วโลก

องค์ประกอบพื้นฐานของโมดูเลอร์ประกอบด้วยสองส่วนคือการคำนวณทางเรขาคณิต เพื่อค้นหาสัดส่วนทอง(GoldenSection)สร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความพิเศษและการผสมผสานสัดส่วนของมนุษย์
ที่มีความสูง 6 ฟุตเข้าไปโดยมีรายละเอียดดังนี้

การคำนวณหาสัดส่วนทองเริ่มต้นที่สร้างสี่เหลี่ยมจัตุรัส abcd แบ่งครึ่งสี่เหลี่ยมนี้ได้เส้น ef ใช้ e เป็นจุดศูนย์กลาง ให้รัศมีเท่ากับเส้นแทยงมุม ec สร้างเส้นรอบวงของวงกลมมาบรรจบกับเส้นฐานเดิมที่ลากยาวออกมาคือ ag สร้างสี่ขึ้นมาจนครบจุดที่ ch ก็จะได้สี่เหลี่ยม bghd ที่มีขนาดความกว้าง bd,gh เท่ากับ 1 และความยาว bg,dh เท่ากับ 1.6

ลากเส้นgfแล้วสร้างมุมฉากนี้ที่จุดfลากเส้น
gbต่อมาจนบรรจบกับกับเส้นตั้งฉากจากจุด f ได้จุดiลากเส้นhbให้มาเท่ากับจุดiแล้วลากเส้น ijแบ่งครึ่งสี่เหลี่ยมทั้งหมดนี้ออกเป็นสองส่วนเท่ากันโดยเส้นkl ผลก็คือจะได้จะได้สี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มขึ้นสองรูปคือkghl และ iklj ซึ่งมีขนาดเท่ากับสี่เหลี่ยมจัตุรัส abcdเดิมโดยทั้งหมดนี้อยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้าighj ซึ่งมีด้านกว้างเท่ากับด้านยาวเท่ากับสอง(01,02)กลับหัวกลับ หางรูปสี่เหลี่ยมนี้แล้วนำความสูงของคนขนาด 6ฟุต(6ฟุต30.48ซ.ม.=182.88)เข้าไปสู่ภายในความยาว

iaจะได้สัดส่วนดั้งนี้สัดส่วนของสี่เหลี่ยมทั้งรูปจาก i ถึง g จะยาวเท่ากับ 266 เท่ากับระยะที่คนในความสูงหกฟุตเหยียดแขนขึ้นไปจนสุด,ความกว้างของฐานสี่เหลี่ยม ij จะเท่ากับ 113 (03)(เลอ คอร์บูซิเอใช้ความสูง 175 ซ.ม. เป็นความสูงเฉลี่ยเมื่อคำนวณครั้งแรกแต่เปลี่ยนใจทีหลัง เมื่อมีเพื่อนทักว่าความสูงควรจะเป็น 6 ฟุต)และด้วยการคำนวณสองวิธีคือ หนึ่งเริ่มต้นจากสัดส่วน 113 แล้วทำอัตราส่วนทองเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปเรื่อยๆ (คูณด้วย 1.618หรือหารด้วย 1.618) ก็จะได้ตัวเลขที่เรียกว่าชุดสีแดง (red series) 2. เริ่มต้นจากสัดส่วน226 (ซึ่งก็คือสองเท่าของ 113 หรือด้านยาวของรูปสี่เหลี่ยมที่สร้างขึ้นมาได้นี้เอง) แล้วทำสัดส่วนทองเพิ่มขึ้นหรือลดลง(คูณด้วย 1.618 หรือหารด้วย1.618)ก็จะได้ชุดตัวเลขที่เรียกว่าชุดสีน้ำเงิน(blueseries)ซึ่งการเปลี่ยนความสูงเฉลี่ยของคนมาเป็น6 ฟุตทำให้ปัญหาความลักลั่นของระบบวัดที่สำคัญที่สุดของโลกสองระบบคือระบบเมตริกและระบบนิ้วฟุตหมดไป เนื่องจากสามารถคำนวณได้ด้วยตัวเลขทั้งชุดแดงและน้ำเงินได้ดังตารางนี้(04)
สัดส่วนที่เกิดขึ้นไม่รู้จบจากการคำนวณนี้เองที่เลอคอร์บูซิเอร์เห็นว่าสามารถใช้ได้ครอบจักรวาลกับงานออกแบบ ทั้งหมดและเป็นฐานให้กับการวัดทั้งหลายโดยที่สัดส่วนที่ได้มาจะสัมพันธ์กับสัดส่วนของมนุษย์และการมองเห็นที งดงามโดยที่การให้ความสูงเแลี่ยของมนุษย์เท่ากับ 6 ฟุตนั้นเป็นการให้คำว่า ใหญ่ ไว้ก่อนคนที่ตัวเล็กกว่าก็ยังใช้ได้ ในขณะที่ถ้าให้ค่าเล็กคนที่ใหญ่กว่าจะใช้ได้ไม่ถนัด


การปรับใช้

นอกจากการทดลองจัดองค์ประกอบสองมิติโดยสัดส่วนโมดูเลอร์นี้แล้ว(05) ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดของการใช้ระบบมาตราวัดนี้ในการออกแบบก็คืองานออกแบบอาพาร์ตเมนต์ที่เมือง Mareseille ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสที่เรียกว่า Uniite’ D’Habitation โดยที่เลอ คอร์บูซิเอร์ใช้มาตรวัดทั้งสองระบบสี ผสมผสานในการออกแบบของอาคารทั้ง อาคารไปกระทั่งเฟอร์นิเจอร์ในห้อง (06,07,08)

ในระดับผังเมือง อาคาร Uniite’ D’Habitation สามารถขยายตัวจัดองค์ประกอบให้กลายเป็นเมืองที่เรียกว่า
RadiantCityได้(09)หรือแม้กระทั้งการนำระบบโมดูเลอร์ไปใช้กับเมืองเก่าอย่างปารีสซึ่งจะได้การวางผังจากระบบ
นี้ทั้งระบบ(10)นอกจากนี้การศึกษาของเลอร์คอร์บูซิเอร์สัดส่วนที่เกิดขึ้นจากโมดูเลอร์สามารถวัดหรืออีกนัยหนึ่ง
ทำการศึกษาเทียบเคียงสัดส่วนจากงานสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ เช่นที่ทดลองทำที่ Abbey of alis, แผ่นหินแกะนูนต่ำสมัยอียิปต์และอีกหลายสมัย(11)

สรุป

ในท้ายที่สุดแม้ว่าเลอร์คอร์บูซิเอร์จะทำการคาดหวังกับโมดูเลอร์ไว้ค่อนข้างสูง
และตัวเองก็ลงมือปฏิบัติการออกแบบโดยระบบนี้ด้วยแต่กระแสนิยมเรื่องภูมิภาค
หรือท้องถิ่นที่มีความหลากหลายทำให้การใช้โมดูเลอร์ไม่ได้รับความต่อเนื่อง
ในการใช้ประโยชน์หรือการพัฒนาต่อในเชิงความคิดความพยายามที่จะนำ
สถาปัตยกรรมไปสู่ความเป็นสากลด้วยระบบวัดหน่วยที่เป็นหนึ่งเดียวต้อง
สูญสลายด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปดัชนีที่ชี้ชัดเจนที่สุดไม่ได้มาจาก
อื่นไกล คือผลงานของตัวสถาปนิกเองงานออกแบบวิหารที่ Ronchamp เป็นตัวอย่างของความเป็นตัวของตัวเองที่สัมพันธ์กับที่ตั้งมากกว่าที่จะเป็น
ตัวอย่างของการปรับใช้มาตราสากลให้มีสภาวะเหนือของพื้นที่ตั้งนอกจากนี้
ในส่วนของการเลือกสเกลของคนที่อิงอยู่กับ6ฟุตนั้นก็ถูกโจมตีจากหลายฝ่ายทั้งจากฝ่ายที่ไม่ใช่ตะวันตกหรือ
จากฝ่ายที่ไม่ใช่ผู้ชายอย่างไรก็ดีการคบคิดต่อในเรื่องสัดส่วนที่มีรากฐานมาจากโมดูเลอร์แม้จะเป็นคนละแนวทางเช่นจากสถาปนิก ญี่ปุ่นก็ช่วยชี้ให้เห็นระบบที่อาจจะเป็นเสมือนกระจกเงาที่ช่วยสะท้อนให้เห็นการตีความในเรื่องสัดส่วนของงานออกแบบหรือ งานสถาปัตยกรรมแง่มุมของท้องถิ่นหรือประเพณีนิยมโดยที่ประโยชน์ในฐานะเครื่องมือสำเร็จรูปอาจจะเป็นเรื่องรองลงไปก็ได้



"โมเดิร์นไม่ใช่แฟชั่นแต่เป็นสภาวะ
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจประวัติศาสตร์
ผู้ที่เข้าใจประวัติศาสตร์จะค้นพบความต่อเนื่อง
ระหว่างสิ่งที่เคยเป็น สิ่งที่เป็นอยู่ และสิ่งที่จะเป็น"


เลอ คอร์บูซิเอร์
Under construction

Sunday, March 1, 2009

Tadao Ando : ทะดะโอ อันโดะ

Tadao Ando : ทะดะโอ อันโดะ



ทะดะโอะ สอนตัวตัวเองโดยใช้ตำราเรียนแบบเดียวกับนักศึกษาในประเทศญี่ปุ่น แต่เขากลับไม่ยอมลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยเพราะรู้สึกว่าการเรียนการสอนในห้องเรียนนั้น "น่าเบื่อและอ่อนด้อย"

What I learn from boxing was that, when you are in the ring, nobody comes to your rescue. You have to flight your own fights. It is exactly the same in architecture.
สิ่งที่ผมเรียนรู้จากการชกมวยคือ เมื่อคุณอยู่บนสังเวียนจะไม่มีใครเข้ามาช่วยคุณ คุณต้องสู้ด้วยตัวคุณเอง เช่นเดียวกับการทำงานในวงการสถาปัตยกรรม


Church of Light

ในแวดวงสถาปัตยกรรมคงมีสถาปนิกน้อยคนที่ไม่รู้จักสถาปนิกชาวญี่ปุ่นนามว่า ทะดะโอะ อันโดะ
หากเอ่ยชื่อของ ทะดะโอะ อันโดะ คนส่วนใหญ่มักจะนำชื่อเสียงเรียงนามของเขาไปประกบคู่กับอาคารที่ใช้คอนกรีตเปลือยผิว ซึ่งถือเป็นอีกยุคหนึ่งของวงการสถาปัตยกรรมโลก ที่ยังคงมีบุคคลซึ่งกล้าที่จะคิดและทำในสิ่งใหม่ๆ ให้กับโลกใบนี้ของเรา(UnderConstruction)


ข้อมูลเพิ่มเติมจาก นิตยสาร ซีเคร็ต ปีที่1 ฉบับที่16 กุมภาพันธ์ 2552


Tadao Ando churches
-----------------------------------------------------------------------------------------------
Tadao Ando was born in 1941 in Osaka, Japan. Growing up in that city as Japan recovered prom the war, Tadao Ando spent the most of time out of doors, and was raised by his grandmother, whose name was "ando". From the age of 10 to 17 Tadao Ando worked at local carpenter, where Tadao Ando learned how to work with wood and built a number of models of airplanes and ships. His studying was very unusual. "I was never a good student. I always prefered learning things on my own outside of class. When I was about 18, I started to wisit temples, shrines and tea houses in Kyoto and nara; There's a lot of great traditional architecture in the area. I was studying architecture by going to see actual building, and reading books about them." His first interest in architecture was nourished in tadao's 15 by buying a book of Le Corbusier sketches. "I traced the drawings of his early period so many times, that all pages turned black," says Tadao Ando: "in my mind I quite often wonder how Le Corbusier would have thought about this project or that."
Tadao Ando took a number of visits to the United States, Europe and Africa in the period between 1962 and 1969. It was certainly at that time that Tadao Ando began to form his own ideas about architectural design, before founding Tadao Ando Architectural & Associates in Osaka in 1969. Tadao Ando 's winner of many prestigous architectural awards, for example Carlsberg Prize (1992), Pritzker Prize (1995), Praemium Imperiale (1996), Gold Medal of Royal Institute of British Architects (1997) and now is one of the most highly respected architect in the world, influencing an entire generation of students.

The first impression of his architecture is its materiality. His large and powerfull walls set a limit. A second impression of his work is the tactility. His hard walls seem soft to touch, admit light, wind and stillness. Third impression is the emptiness, because only light space surround the visitor in Tadao Ando 's building.

Other things that had influenced his work and vocabulary of architecture is the pantheon in Rome and "enso", which is mysterious circle drawn by zen-budhists and symbolizing emptiness, loneliness, oneness and the moment of englightment. The circle and other rigorous geometrical forms are the basic forms of Tadao Ando 's art presentation.

First Tadao Ando 's realisation was Row House in Sumiyoshi, O

saka in 1975. This mentioned building was a simple block building, inserted into a narrow street of row houses. This residence is immediately noticeable because of its blank concrete fasade punctuated only by doorway. The whole object space is divided into a three equal rectangular spaces, while the central part is atrium. The space nearest the doorway contains the living room at ground level, and the bedroom above. The last final space contains the kitchen and bathtroom below, and the master bedroom above. Build in the wooden residential area above the port city of Kobe.

The Koshino House, second realisation of Tadao Ando, was completed in two phrases (1980-81 and 1983-84). This house is a masterpiece, and collects all fragments of Tadao Ando 's architectonical vocabulary, mainly the light. "Such things as light and wind only have meaning when they are introduced inside a house in a form cut off from the outside world. The forms I have created have altered and acquiered meaning through elementary nature (light and air) that give indications of the passage of time and changing of the seasons"


All Tadao Ando 's work is characteristically simple, and we can find similar forms in the first half of 20th century: "I am interested in a dialogue with the architecture of the past", Tadao Ando says, "but it must be filtered through my own vision and my own experience. I am indebted to Le Corbusier and Ludwig Mies van der Rohe, but the same way, I take what they did and interpret it in my own fashion."


Tadao Ando churches

One of the first projects to bring international attention to Tadao Ando was his Rokko Housing I. (Kobe, Hyogo, 1981-83), which is situated much further down the slope of the Rokko Moutains than the Koshino house, this complex is wedged into a restricted site on a south-facing 60 degrees slope. Each of the 20 units is 5,4 x 4,8 m in si

ze, and each has a terrace looking out towards the bush harbour of Kobe. Why was this monumental resident building so successful ? " I think architecture becomes interesting when it has a double character, that is, when it is as simple as possible but, at the same time as complex as possible"

Some years later, Tadao Ando build a second housing complex, adjacent to Rokko Housing I. (Rokko Housing II.). Four times larger than the original building, this structure includes 50 dwellings, designed on a 5,2m square grid. A third and even larger structure is now under way above Rokko Housing II. (Rokko Housing III.), under construction.

Tadao Ando 's most remarkable works are certainly the religious buildings. "I feel that the goal of most religious is similar, to make men happier and more at ease with themselves. I see no contradiction in my designing christian churches. " Tadao Ando has build a number of christian chapels and other places of religion and contemplation. One of the most amazing church is also one of his simplest. The church of the light (Baraki, Osaka, 1988-89) is located in a residential suburb 40 km to the north-east of the center of Osaka. It consists from a rectangular concrete box crossed at 15 degrees angle by freestanding wall. The bisecting wall obliges the visitor to turn to enter the chapel. As ever with Tadao Ando, entering a building requires an act of will and an awareness of the architecture. In an unusual configuration, the floor descends in stages toward the altar, which is next to the rear wall, whose horizontal and vertical openings form a cross, flooding the space with light.

Awaji is the largest island of the inland sea, set 60

0km to the south-west of Tokyo opposite Kobe in the bay of Osaka. Here, on hill above a small port, Tadao Ando build his Water Temple. Following a small footpath, the visitor first sees a long concrete wall, 3m high, with a single opening. Through this door one does not find an entrance, but rather another wall, blank, but carved this time, bordered by a white gravel path. Having walked past this new screen of concrete, the visitor discovers an oval lotus pond, 40m long and 30m wide. In the centre of the pond, a stair way descends to the real entrance of the temple. Below the Lotus Fond, within a circle 18M in diameter, the architect has inscribed a 17.4 m square. Here, within a grid of red wood, a statue of buddha turns its back to the west, where the only openings admits the glow of the setting sun. In this place at sunset the words of Tadao Ando can be more clearly understood: "architecture," Tadao Ando says, "has forgotten that space can be a source of inspiration." The other religious buildings are: Water Temple in Hyiogo, Meditation space UNESCO in Paris, etc.

The Children's museum (1988-1989) is located on a large wooded hillside site overlooking a lake near the city of Himeji. In this mature work of Tadao Ando, the visitor is invited to discover the architecture in relation to its natural setting. The main

unit of the museum contains a library, indoor and outdoor theatres, an exhibition gallery, a multipurpose hall and a restaurant. The outdoor theater is located on the rooftop, with a spectacular view of the lake. A stepped waterfall and pool near the building also serve to make a connection between the museum and the scenery of the lake. A path, marked by a long concrete wall leads the visitor away from the main structure toward a workshop complex consisting of a two-story square building.

Along this path Tadao Ando has placed a surprising group of 16 concrete columns in a square grid. In their wooded setting, these 9m high pillars recall that the first columns in architectural history were inspired by trees. Just down the road from the children's museum Tadao Ando designed the Children's Seminar House (1991-92). A residence for schoolchildren on vacation, which is capped by a small observatory. The other museums are: The Museum of Literature, Naoshima Contemporary Art museum, Chikatsu-Asuka Historical museum, etc.

There are many islands in the many islands in the inland sea of japan that are arch

itectonicaly designed into a small cities. There are projects like naoshima museum and hotel (1990 - 92 and 1994 - 95), located at the southern end of island naoshima, and the great project for Awaji island, Hyogo. It was designed in 1992 and from year 1997 is under construction. This north - eastern shore of Awajishima. Tadao Ando describes it: "The program is for multi-use facility including a botanic garden, a place for the study of horticulture, an open-air theater, a convention hall, a hotel and a guest house. Our first idea was to restore the greenery, more

specifically to hold a flower exposition there and to develop the idea into a permanent garden. We called this the millenium garden, and the project was developed on the basis of that concept. It was decided that the facilities would be linked by living things, that is, plants such as trees and flowers, and the flow of water and people. The alhamera in granada provides a historical model.

Tadao Ando is the world 's greatest living architect. If Tadao Ando has one weakness it may by a difficulty in translating the grandeur of his smaller buildings to a larger scale


Tadao Ando
Book
Philip Jodidio

Taschen 2001

Tadao Ando, born in 1941 in Osaka, is the best known contemporary Japanese architect. Winner of the 1992 Carlsberg Prize, the 1995 Pulitzer Prize, the 1996 Praemium Imperiale, and the 1997 Royal Institute of British Architects Gold Medal, he has influenced an entire generation of students, mainly through professional publications and travelling exhibitions.
Based on visits to Ando's principal buildings, which are almost all located in Japan, and on interviews with the architect, this book provides a valuable overview of his career through his built work and current projects.