ลอคอบูซิเยร์ (Le Corbusier) มีชื่อจริงว่า Charles-Edouard Jeanneret เป็นสถาปนิก นักวางผังเมือง จิตรกร ชาวฝรั่งเศส เกิดที่เมือง Chaux-de-Fonds ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1887 เสียชีวิตในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือน 27 สิงหาคม ค.ศ. 1965 เขาได้คิดค้นระบบของสัดส่วน ของการออกแบบทางสถาปัตยกรรม - Modulor ซึ่งกำหนดจากพื้นฐานของสัดส่วนมนุษย์ จากความสูง 1829 มม
ประวัติ
เลอ คอบูซิเยร์ (1887-1965) เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1887 ที่เมือง Chaux-de-Fonds ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในแถบสวิสซึ่งที่นั้นเป็นศูนย์กลาง ของการทำนาฬิกา พ่อเป็นคนสลักและลงยาหน้าปัทม์นาฬิกา ส่วนแม่เป็นครูสอนเปียโน
พอ อายุได้ 13 ปี เขาออกจากกิจการของครอบครัวออกเที่ยวไปในยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน ไปอยู่ปารีสและได้ทำงานกับ Auguste Perret ต่อจากนั้น ไปอยู่เยอรมันไปเป็นผู้ช่วย behren และกลับมาเป็นครูที่โรงเรียน Chaux-de-Fonds เขาได้ไปทำงานเป็นจิตรกร ที่ปารีส และได้ทำงานด้านผังเมือง ได้สร้างเมืองใหม่ Chandigarh ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย
ใน ปี 1913 ไปอยู่ปารีส ซึ่งในขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของศิลปะคิวบิสม์ และเซอร์เรียวลิสม์ ต่อมาในปี 1930 ได้โอนสัญชาติมาเป็นสัญชาติฝรั่งเศส และเขาได้เสียชีวิตขณะว่ายน้ำเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1965
แนวความคิดในการออกแบบ
ตัว เขาไปสร้างศิลปะแบบ purism โดยยึดถือความคิดเกี่ยวกับรูปทรงอย่างเดียว พร้อมกับคำพูดของเขาที่ว่า “ a house is a living in “ หมายความว่า บ้านพักอาศัยควรสนองประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง คอร์บูมองเห็นว่า บ้านนั้นเป็นผลิตผลของผู้บริโภคเหมือนกับรถยนต์ ซึ่งผลิตชิ้นส่วนออกมาจากโรงงานและด้วยการผลิตทางอุตสาหกรรมนี้ บ้านก็ควรมีชิ้นส่วนที่ผลิตออกมาจากโรงงาน(แล้วเลื่อนออกมาตามสายพานเหมือน ชิ้นส่วนของรถยนต์ ) และด้วยหลักการนี้ก็เข้าครอบงำสถาปนิกตั้งแต่นั้นมา ความจริงแล้วคอร์บู ได้แรงบันดาลใจจากภาพจำลองของเครื่องจักรและอาศัยสิ่งเหล่านี้ไปสร้างสรรค์ สไตล์ใหม่ๆ ซึ่งไม่มีการเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม บ้านของเขาก็ดูคล้ายๆ เครื่องจักร แต่ละส่วนแสดงออกอย่างชัดแจ้งเหมือนชิ้นส่วนของเครื่องจักร ปล่องระบายอากาศบนหลังคาก็ดูคล้ายปล่องเรือกลไฟ บ้านที่รู้จักกันดีก็คือ Villa Savoye นอกกรุงปารีส ซึ่งถูกเปรียบเทียบกับเฮลิคอปเตอร์ที่ตั้งอยู่บน landscape ที่เกี่ยวเนื่องกับคติทางคลาสสิคและยุคเครื่องจักรกล คอร์บูเป็นผู้สนับสนุนความคิดแบบฟิวเจอร์ริสท์ โดยการแสดงออกให้เห็นสังคมใหม่แทนที่จะให้สถาปัตยกรรมเป็นผู้กำหนดโลกใหม่ เขากลับมีความต้องการที่จะออกแบบสังคมใหม่ด้วยจินตนาการของเขาเอง ชื่อ คอร์บูสิเอร์เป็นฉายาที่ตั้งขึ้นเองแปลว่าอีกา
คอร์บูได้เปลี่ยน สไตล์ของเขา หลังสงครามเขาก็ทิ้งความตั้งใจที่ชอบผลิตผลของเครื่องจักรที่มีผิวพื้นที่ เรียบลื่นและหันไปชอบสไตล์ใหม่ ซึ่งเขาเรียกว่า brutism คือความหยาบของผิววัสดุ เมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นว่าคอร์บูมักทำโครงสร้างแบบ “ คอนกรีตเปลือย “ และเขาเห็นว่าอาคารนั้นไม่เหมาะกับคนแต่ควรทำให้คนเหมาะกับอาคารจึงกำหนดสัด ส่วนของอาคารให้เหมาะสมแทน
ด้วยแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ใน ยุค modern movement เขาได้ออกแบบโบสถ์ chaple at ronchamp ถือเป็นงานชั้นโบว์แดงของเขา มีลักษณะเล่น ลูกเล่นแบบ plastic quality ของดินเหนียว ใช้รูปทรงที่แรงแทนสัญญลักษณ์ทางศาสนา งานนี้มีลักษณะเห็นถึงพลัง และมีความเป็นตัวเองได้อย่างมีเอกลักษณ์
คอร์ บูได้สร้างสรรค์ ศิลปะหลายแขนง เป็นประติมากร โดยทุกเช้าจะเล่นน้ำทะเลให้คลื่นสัดสาดตัวแล้วจะขึ้นมาทำงานประติมากรรม เสร็จแล้วก็จะเรี่มงานสถาปัตยกรรม เป็นนักผังเมืองมีความคิดกว้างไกลจากยุคที่ตนมีชีวิตอยู่ ว่าควรจัดระบบ จัดโซนของการใช้เมืองอย่างไรจึงจะได้ผล เขาถือความงามเป็นสิ่งสัจจะ เป็นสิ่งที่ดีและหาได้ยากจะได้มาก็ต้องผ่านการเลือกเฟ้นเท่านั้น
ลักษณะสถาปัตยกรรม 5 ประการของ เลอคอบูซิเยร์
ในสิ่งตีพิมพ์ เขาได้เสนอความคิดที่สำคัญตั้งแต่สมัยแรกๆ คือ five points of modern architecture
ยกพื้นสูงลอยตัว มีลักษณะเบา แบบนี้เป็นเรื่องใหม่ของตะวันตกที่เคยชินกับ
มีรูปทรง (Mass) ที่ทึบตันและติดดิน
จัดแผนผังพื้นที่ใช้สอย เป็นอิสระจากโครงสร้าง (free plan)
ใช้ ribbon window
ใช้ roof garden
งานนิพนธ์สำคัญ
Vers une Architecture (Towards a New Architecture)
Urbanisme (The City of Tomorrow)
L'Art decoratif daujourd'hui
La Peinture Moderne
le moduler
-------------------------------------------------
เลอ คอร์บูซิเอ เป็นผู้นำอีกกลุ่มหนึ่งที่เคยคลุกคลีมากับกลุ่มของ โกรเปียส ดังนั้น นอกจากจะเห็นชอบในหลักการเรื่องประโยชน์ใช้สอยและความสง่างามเกิดขึ้นได้จาก การจัดมวล และสัดส่วนอันพอเหมาะแล้ว โดยกำหนดทิศทางวิชาชีพแรกเริ่มแล้ว คอร์บู ได้เป็นศิลปินด้วยเหตุที่เป็นผู้ค้นคว้าเรียนรู้ และคบหาสังคมกับกลุ่มผู้บุกเบิกสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ จึงทำให้ขเามีแนวความคิดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่แตกต่างเพิ่มขึ้นจากกลุ่มอื่นอีก สถาปนิกที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้อีกท่านหนึ่งได้แก่ หลุยคาห์น ที่ยึดหลักการพื้นฐานเดียวกันแต่ หลุยคาห์นมีความถนัดในการใช้คอนกรีตโครงสร้างได้แหลมคมกว่าเช่นเรื่อง Prestress Concrete และเรื่อง
อาคารสำเร็จรูปและเรื่องความเว้นว่างริชชาร์ดมายเออร์ก็ยอมว่าเลอคอร์บูซิเอมีอิทธิพลต่อการใช้ทรวดทรงและ
การใช้แสงในอาคารได้เขามากซึ่งพอจะนำกฎเกณ์ของ เลอ คอร์บูซิเอ มารวบรวมไว้ได้คือ
หลักการออกแบบ 5 ข้อของเลอ คอร์บูซิเอ
1. อาคาร ควรจะวางอยู่บนเสา เพราะอาคารในสมัยก่อนหน้านี้มักจะวางอยู่บนพันดินโดยตรง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความชื้นภายในอาคารทำให้อาคารชำรุดเร็วและผู้อาศัยเสีย สุขภาพ ห้องต่างๆภายในอาคารจะไม่ได้รับแสงสว่างเพียงพอ ผลจากการยกอาคารสูงได้ประโยชน์ในเรื่องการระบายอากาศได้แสงสว่างเพิ่มขึ้น และมีความปลอดภัยมากกว่า แนวความคิดนี้เขาได้นำไปใช้ในอาคารใหญ่ เช่น แฟลต หอพัก หรืออาคารสำนักงาน ดังจะเห็นว่าเสาที่รองรับอาคารมีขนาดใหญ่มากโดยมีส่วนหนึ่งเป็นช่องสำหรับ เดินท่อต่างๆ ของส่วนบริการไปด้วย
2. อาคาร จะมีดาดฟ้าสำหรับเป็นที่พักผ่อนในสมัยก่อนหลังคาเอียงลาดเพื่อรองรับน้ำฝนแล หิมะ ซึ่งเหมาะสำหรับวัสดุมุงซึ่งเป็นกระเบื้องในสมัยนั้น แต่ปัจจุบันเราใช้พื้นคอนกรีตแบนราบแทนเราจึงออกแบบให้มีการใช้สอยในส่วนนี้ ด้วย
3. ควรใช้ระบบโครงสร้างแบบถ่ายน้ำหนักลงที่คานและเสา(Skeleton Constuction)ทำให้การจัดวางที่ว่างภายในอาคารมีอิสระมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีผนังทึบตลอดหรือส่วนมากเพราะผนังมิได้รับน้ำหนัก คานและเสาคอนกรีตเสริมเหล็ฏได้รับน้ำหนักแทนจึงสามารถเปิดหน้าต่างประตูได้อย่างอิสระ ทำให้รูปด้านของอาคารมีลักษณะแปลกและสนองประโยชน์ใช้สอยได้อย่างเต็มที่
4. ผลจากการใช้โครงสร้างในข้อ 3 จึงทำให้ผนังมีความสัมพันธ์กัะบเสาน้อยลงอาจจัดให้เสาลอยนอกผนังอาคาร หรือเอาผนังไปไว้นอกแนวเสาก็ได้ ดังนั้นจึงสามารถนำวัสดุที่เบามาใช้ในส่วนนี้ได้ วัสดุดังกล่าวได้แก่ โครงเหล็กและแผ่นกระจก ซึ่งที่จริงทำให้เกิดระบบกำแพง หรือผนังแขวนลอยนั้นเอง(Curtian Wall)
5. ผลจากโครงสร้างและการใช้ผนังโปร่งเบา ทำให้ความสัมพันธ์ภายในและภายนอกมีบรรยากาศดีขึ้น โดยที่มีผลในเรื่องการป้องกันความร้อนและความชื้น
ทฤษฎีโมดูล่า ได้มาจากปัจจัย 5 อย่างคือ
1. มุมฉากที่ได้รับการพิจารณา คัดเลือก มาประกอบเป็นสัดส่วนในงานสถาปัตยกรรม แล้ทำให้เกิดความประทับใจเมื่อได้สัมผัสด้วยสายตา
2. ความที่มนุษย์ไม่เคยเห็นความงามมากได้เท่าที่เคยได้ยินมาจากเสียงดนตรีที่ละเอียดและไพเราะ ซึ่งสามารถรวบรวมไว้ด้วยมิติ ซึ่งมีความก้าวหน้าและมีความกลมกลืนกันอย่างยิ่ง ซึ่งในอดีตชาวกรีกอาจจะเคยรู้จริงในข้อนี้จึงสามารถสร้างสรรค์งานที่เป็นอมตะขึ้นมาได้ แต่ก็ไม่สามารถCondifiedได้ ซึ่งต่างกับดนตรีซึ่งถูก Condified ได้ตั้งแต่สมัยของบ๊าค
3. ความ จริงที่ยอมรับกันมาในอดีตแล้ว เกี่ยวกับเรื่องของสัดส่วน เช่นสัดส่วน 8 ต่อ 3ซึ่งถือเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ดูน่าพอใจ หรือสัดส่วนที่เรียกว่าGolden Section(สัดส่วนสมบูรณ์ลักษณ์)ซึ่งมีด้านยาวเท่ากับเส้นทะแยงมุมของรูปสี่ เหลี่ยมจัตุรัสที่เกิดจากด้านสั้นของมัน ซึ่งสัดส่วนเหล่านี้ทำให้เกิดความพอใจเมื่อได้เห็น ไม่วาจะเป็นกรอบรูป กรอบหน้าต่าง หรือที่เป็นขนาดใหญ่ เช่น รูปด้านของอาคาร หรือแม้แต่จัตุรัสใจกลางเมือง
4. ความจริงซึ่งมนุษย์สามารถสร้างสัดส่วนที่สวยงามได้และได้เคยสร้างมาแล้ว เช่น สัดส่วนสมบูรณ์ลักษณ์ ล้วนเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งสามารถหาชุดอนุกรมของสัดส่วน ซึ่งค่อยๆใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ในทางตรงข้าม ซึ่งแต่ละสัดส่วนจะมีความสัมพันธ์กัน กลมกลืนกันในลักษณะตรงที่ว่า สัดส่วนที่ใหญ่กว่าสามารถนำเอาสัดส่วนที่เล็กกว่าหลายๆชั้น บรรจุลงได้
5. สัดส่วนนั้นควรจะสามารถบรรจุสัดส่วนที่เกี่ยวกับมนุษย์ได้ เช่น คนยืนชูแขน คนนั่ง คนยืน โดยสัดส่วนได้นั้นมาจากมนุษย์
เรื่องโมดูล่าของเลอ คอร์บูซิเอ ที่กล่าวมาแล้งทั้งหมดเป็นที่ยอมรับกันว่า เขายึดมั่นในเรื่องที่เกี่ยวกับสัดส่วนที่ดีกับเรื่องของGolden Sectionแล้วนำสัดส่วนที่ว่าดีแล้วมาทำให้เกิดความสัมพันธ์กับสัดส่วนของมนุษย์ แล้วจึงเป็นข้อมูลในการออกแบบอาคาร
การคำนวณทางเรขาคณิตและคณิตศาสตร์
โมดูเลอร์คือระบบการวัดสัดส่วนในวานออกแบบที่สามารถใช้เป็นมาตรวัดตั้งแต่ชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเล็กๆ ไปถึงขนาดของอาคารจนกระทั่งสัดส่วนของเมืองทั้งเมืองโดยมีนัยยะสำคัญว่าสัดส่วนของงานออกแบบทั้งหลาย นั้นสัมพันธ์กับสัดส่วนการใช้สอยและการมองเห็นของมนุษย์อย่างมากที่สุดนอกจากนี้ยังเป็นสัดส่วนที่สามารถ
ปรับเข้าใช้กับผู้ใช้ทั่วโลก
องค์ประกอบพื้นฐานของโมดูเลอร์ประกอบด้วยสองส่วนคือการคำนวณทางเรขาคณิต เพื่อค้นหาสัดส่วนทอง(GoldenSection)สร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความพิเศษและการผสมผสานสัดส่วนของมนุษย์
ที่มีความสูง 6 ฟุตเข้าไปโดยมีรายละเอียดดังนี้
การคำนวณหาสัดส่วนทองเริ่มต้นที่สร้างสี่เหลี่ยมจัตุรัส abcd แบ่งครึ่งสี่เหลี่ยมนี้ได้เส้น ef ใช้ e เป็นจุดศูนย์กลาง ให้รัศมีเท่ากับเส้นแทยงมุม ec สร้างเส้นรอบวงของวงกลมมาบรรจบกับเส้นฐานเดิมที่ลากยาวออกมาคือ ag สร้างสี่ขึ้นมาจนครบจุดที่ ch ก็จะได้สี่เหลี่ยม bghd ที่มีขนาดความกว้าง bd,gh เท่ากับ 1 และความยาว bg,dh เท่ากับ 1.6
ลากเส้นgfแล้วสร้างมุมฉากนี้ที่จุดfลากเส้น
gbต่อมาจนบรรจบกับกับเส้นตั้งฉากจากจุด f ได้จุดiลากเส้นhbให้มาเท่ากับจุดiแล้วลากเส้น ijแบ่งครึ่งสี่เหลี่ยมทั้งหมดนี้ออกเป็นสองส่วนเท่ากันโดยเส้นkl ผลก็คือจะได้จะได้สี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มขึ้นสองรูปคือkghl และ iklj ซึ่งมีขนาดเท่ากับสี่เหลี่ยมจัตุรัส abcdเดิมโดยทั้งหมดนี้อยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้าighj ซึ่งมีด้านกว้างเท่ากับด้านยาวเท่ากับสอง(01,02)กลับหัวกลับ หางรูปสี่เหลี่ยมนี้แล้วนำความสูงของคนขนาด 6ฟุต(6ฟุต30.48ซ.ม.=182.88)เข้าไปสู่ภายในความยาว
iaจะได้สัดส่วนดั้งนี้สัดส่วนของสี่เหลี่ยมทั้งรูปจาก i ถึง g จะยาวเท่ากับ 266 เท่ากับระยะที่คนในความสูงหกฟุตเหยียดแขนขึ้นไปจนสุด,ความกว้างของฐานสี่เหลี่ยม ij จะเท่ากับ 113 (03)(เลอ คอร์บูซิเอใช้ความสูง 175 ซ.ม. เป็นความสูงเฉลี่ยเมื่อคำนวณครั้งแรกแต่เปลี่ยนใจทีหลัง เมื่อมีเพื่อนทักว่าความสูงควรจะเป็น 6 ฟุต)และด้วยการคำนวณสองวิธีคือ หนึ่งเริ่มต้นจากสัดส่วน 113 แล้วทำอัตราส่วนทองเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปเรื่อยๆ (คูณด้วย 1.618หรือหารด้วย 1.618) ก็จะได้ตัวเลขที่เรียกว่าชุดสีแดง (red series) 2. เริ่มต้นจากสัดส่วน226 (ซึ่งก็คือสองเท่าของ 113 หรือด้านยาวของรูปสี่เหลี่ยมที่สร้างขึ้นมาได้นี้เอง) แล้วทำสัดส่วนทองเพิ่มขึ้นหรือลดลง(คูณด้วย 1.618 หรือหารด้วย1.618)ก็จะได้ชุดตัวเลขที่เรียกว่าชุดสีน้ำเงิน(blueseries)ซึ่งการเปลี่ยนความสูงเฉลี่ยของคนมาเป็น6 ฟุตทำให้ปัญหาความลักลั่นของระบบวัดที่สำคัญที่สุดของโลกสองระบบคือระบบเมตริกและระบบนิ้วฟุตหมดไป เนื่องจากสามารถคำนวณได้ด้วยตัวเลขทั้งชุดแดงและน้ำเงินได้ดังตารางนี้(04)
สัดส่วนที่เกิดขึ้นไม่รู้จบจากการคำนวณนี้เองที่เลอคอร์บูซิเอร์เห็นว่าสามารถใช้ได้ครอบจักรวาลกับงานออกแบบ ทั้งหมดและเป็นฐานให้กับการวัดทั้งหลายโดยที่สัดส่วนที่ได้มาจะสัมพันธ์กับสัดส่วนของมนุษย์และการมองเห็นที งดงามโดยที่การให้ความสูงเแลี่ยของมนุษย์เท่ากับ 6 ฟุตนั้นเป็นการให้คำว่า ใหญ่ ไว้ก่อนคนที่ตัวเล็กกว่าก็ยังใช้ได้ ในขณะที่ถ้าให้ค่าเล็กคนที่ใหญ่กว่าจะใช้ได้ไม่ถนัด
การปรับใช้
นอกจากการทดลองจัดองค์ประกอบสองมิติโดยสัดส่วนโมดูเลอร์นี้แล้ว(05) ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดของการใช้ระบบมาตราวัดนี้ในการออกแบบก็คืองานออกแบบอาพาร์ตเมนต์ที่เมือง Mareseille ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสที่เรียกว่า Uniite’ D’Habitation โดยที่เลอ คอร์บูซิเอร์ใช้มาตรวัดทั้งสองระบบสี ผสมผสานในการออกแบบของอาคารทั้ง อาคารไปกระทั่งเฟอร์นิเจอร์ในห้อง (06,07,08)
ในระดับผังเมือง อาคาร Uniite’ D’Habitation สามารถขยายตัวจัดองค์ประกอบให้กลายเป็นเมืองที่เรียกว่า
RadiantCityได้(09)หรือแม้กระทั้งการนำระบบโมดูเลอร์ไปใช้กับเมืองเก่าอย่างปารีสซึ่งจะได้การวางผังจากระบบ
นี้ทั้งระบบ(10)นอกจากนี้การศึกษาของเลอร์คอร์บูซิเอร์สัดส่วนที่เกิดขึ้นจากโมดูเลอร์สามารถวัดหรืออีกนัยหนึ่ง
ทำการศึกษาเทียบเคียงสัดส่วนจากงานสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ เช่นที่ทดลองทำที่ Abbey of alis, แผ่นหินแกะนูนต่ำสมัยอียิปต์และอีกหลายสมัย(11)
สรุป
ในท้ายที่สุดแม้ว่าเลอร์คอร์บูซิเอร์จะทำการคาดหวังกับโมดูเลอร์ไว้ค่อนข้างสูง
และตัวเองก็ลงมือปฏิบัติการออกแบบโดยระบบนี้ด้วยแต่กระแสนิยมเรื่องภูมิภาค
หรือท้องถิ่นที่มีความหลากหลายทำให้การใช้โมดูเลอร์ไม่ได้รับความต่อเนื่อง
ในการใช้ประโยชน์หรือการพัฒนาต่อในเชิงความคิดความพยายามที่จะนำ
สถาปัตยกรรมไปสู่ความเป็นสากลด้วยระบบวัดหน่วยที่เป็นหนึ่งเดียวต้อง
สูญสลายด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปดัชนีที่ชี้ชัดเจนที่สุดไม่ได้มาจาก
อื่นไกล คือผลงานของตัวสถาปนิกเองงานออกแบบวิหารที่ Ronchamp เป็นตัวอย่างของความเป็นตัวของตัวเองที่สัมพันธ์กับที่ตั้งมากกว่าที่จะเป็น
ตัวอย่างของการปรับใช้มาตราสากลให้มีสภาวะเหนือของพื้นที่ตั้งนอกจากนี้
ในส่วนของการเลือกสเกลของคนที่อิงอยู่กับ6ฟุตนั้นก็ถูกโจมตีจากหลายฝ่ายทั้งจากฝ่ายที่ไม่ใช่ตะวันตกหรือ
จากฝ่ายที่ไม่ใช่ผู้ชายอย่างไรก็ดีการคบคิดต่อในเรื่องสัดส่วนที่มีรากฐานมาจากโมดูเลอร์แม้จะเป็นคนละแนวทางเช่นจากสถาปนิก ญี่ปุ่นก็ช่วยชี้ให้เห็นระบบที่อาจจะเป็นเสมือนกระจกเงาที่ช่วยสะท้อนให้เห็นการตีความในเรื่องสัดส่วนของงานออกแบบหรือ งานสถาปัตยกรรมแง่มุมของท้องถิ่นหรือประเพณีนิยมโดยที่ประโยชน์ในฐานะเครื่องมือสำเร็จรูปอาจจะเป็นเรื่องรองลงไปก็ได้
"โมเดิร์นไม่ใช่แฟชั่นแต่เป็นสภาวะ
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจประวัติศาสตร์
ผู้ที่เข้าใจประวัติศาสตร์จะค้นพบความต่อเนื่อง
ระหว่างสิ่งที่เคยเป็น สิ่งที่เป็นอยู่ และสิ่งที่จะเป็น"
เลอ คอร์บูซิเอร์
Under construction
Sunday, June 28, 2009
Subscribe to:
Posts (Atom)