Thursday, August 27, 2009

ขั้นตอนการสร้างบ้าน

ขั้นตอนการปลูกสร้างบ้าน
การที่มีบ้านเป็นของตัวเองย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไป เพราะบ้านเป็นสิ่งที่ให้ความร่มรื่น สุขสบายทั้งกายและใจ แต่การที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังหนึ่งนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้มา เนื่องจากปัจจุบันบ้านมีราคาค่อนข้างสูง นับเป็นภาระอันหนักหนาสาหัสพอสมควรสำหรับคนทั่วไปที่มีรายได้ปานกลาง ยกเว้นคนที่ร่ำรวยเท่านั้นที่จะไม่เดือดเนื้อร้อนใจในเรื่องนี้เท่าใดนัก ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจปลูกบ้านสักหลัง จึงควรที่จะต้องศึกษาขั้นตอนการดำเนินการให้ละเอียดรอบคอบ เพราะถ้าตัดสินใจผิดพลาดไปแล้ว อาจไม่มีโอกาสให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหมือนกับการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า ได้ และถ้าเป็นเช่นนั้น บ้านที่หวังว่าจะนำความสุขความสบายให้ความร่มรื่น อาจกลับกลายเป็นความทุกข์ตลอดชีวิตก็เป็นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงต้องคำนึงถึงขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับการปลูกสร้างบ้าน ดังนี้
1. กำหนดรูปแบบและขนาดของบ้าน
เมื่อท่านมีแผนที่จะปลูกบ้าน ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องมีแบบบ้านที่อยากได้อยู่ในใจแล้ว ว่ารูปทรงของบ้านจะเป็นแบบใด ซึ่งในปัจจุบันนี้ บริษัทรับออกแบบและก่อสร้างบ้านมีอยู่มากมาย ที่นำเสนอแบบแปลกๆ ใหม่ๆ ให้เลือกไม่ว่าจะเป็นแบบทันสมัย แบบร่วมสมัย หรือแบบทรงยุโรป เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องคำนึงขนาดและจำนวนห้องให้พอดีกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว ถ้าเล็กไปคงจะอึดอัดคับแคบ แต่ถ้าใหญ่เกินไปจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น หรืออาจจะต้องมีสระว่ายน้ำ หรือสวนหย่อมภายในบ้าน ก็แล้วแต่จะพิจารณาตามความต้องการของท่านหรือสมาชิกในครอบครัว
2. การเลือกบริษัทรับออกแบบบ้าน
เมื่อได้กำหนดรูปแบบ ขนาดและองค์ประกอบต่างๆ ของตัวบ้านไว้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การจัดทำแบบรูปรายการและข้อกำหนดต่างๆ เมื่อยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารกับหน่วยราชการเจ้าของพื้นที่ที่ท่านต้อง การปลูกสร้างบ้าน หรือถ้าท่านจำเป็นต้องกู้ธนาคาร ก็ต้องแนบแบบรูปรายการให้ธนาคารพิจารณาด้วยซึ่งการจัดทำแบบดังกล่าวอาจทำได้ หลายวิธี เช่น จ้างสถาปนิกอิสระโดยตรง หรือจ้างบริษัทรับออกแบบและก่อสร้างบ้านแบบครบวงจร เป็นต้น แต่ข้อสำคัญต้องกำหนดรายละเอียดองค์ประกอบของบ้านให้ชัดเจนครบถ้วนและตรวจ สอบรูปร่างความสวยงามลงตัวของบ้านให้เป็นไปตามความต้องการให้แน่ใจก่อนที่จะ ลงนามในสัญญาว่าจ้าง และเมื่อแบบแล้วเสร็จก่อนจะชำระค่าดำเนินการต้องตรวจสอบรายละเอียดของแบบ ก่อน ดังนี้
- ตรวจสอบแบบแปลนให้แน่ใจว่า ห้องต่างๆ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน แม้กระทั้งบันไดขึ้นลงและเฉลียง ระเบียงต่างๆ ได้ถูกจัดวางตามความต้องการของท่านอย่างถูกต้องแล้ว
- ตรวจสอบรูปด้านทั้ง 4 ด้านว่ามีความสวยงามจนเป็นที่พอใจ
- ตรวจสอบรายการวัสดุต่างๆ เช่น สุขภัณฑ์ กระเบื้องห้องน้ำ กระเบื้องพื้นชั้นล่าง ไม้ปาร์เก้ รายละเอียดประตูหน้าต่าง ฯลฯ ให้ครบถ้วนจนเป็นที่พอใจ
- ตรวจสอบผังบริเวณบ้านว่าถูกจัดวางในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว
รายการตามที่กล่าวมานี้หากยังไม่ถูกต้องมีส่วนที่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ให้รีบแจ้งผู้ออกแบบดำเนินการแก้ไข แล้วตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งที่มีการแก้ไขจึงจ่ายค่าดำเนินการ
3. การเลือกบริษัทรับก่อสร้างบ้าน
เมื่อมีรูปแบบรายการข้อกำหนดของวัสดุต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนก่อสร้าง การเลือกบริษัทรับก่อสร้างบ้านที่จะมีสร้างบ้านให้ท่านนั้น ควรพิจารณาข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ให้รอบคอบชัดเจนเป็นที่แน่ใจเสียก่อนที่จะทำการว่าจ้างให้เป็นผู้ปลูกสร้าง บ้านให้ดูข้อมูลที่จะต้องพิจารณาประกอบไปด้วย
- ชื่อเสียง ผลงานที่ผ่านมาหรือประวัติของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่ามีประวัติการก่อสร้างเป็นอย่างไร บ้านที่เคยสร้างมามีคุณภาพดีหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ อาจขอดูบ้านที่บริษัทนั้นเคยสร้างไว้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
- การให้บริการหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ ควรหาข้อมูลว่าบริษัทฯ มีการบริการหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จอย่างไร มีการติดตามดูแลลูกค้าดีสม่ำเสมอหรือไม่ และการเข้าบริการช้าหรือเร็วแค่ไหน เป็นต้น
- ทรัพยากรของบริษัท ควรตรวจสอบว่าบริษัทดังกล่าว มีพรัพยากรที่เพียงพอที่จะสามารถก่อสร้างบ้านของท่านให้มีความสุขดีหรือไม่ ทีมก่อสร้างมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากน้อยเท่าใด เช่น วิศวกรโครงการ ช่างควบคุมงาน ผู้บริหารการก่อสร้างมืออาชีพ เป็นต้น
เมื่อได้พิจารณาสิ่งต่างๆ ตามที่กล่าวมาจนเป็นที่แน่ใจแล้ว จึงทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
4. การทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้าน
เมื่อตัดสินใจทำสัญญาว่าจ้างให้บริษัทรับก่อสร้างบ้านเป็นผู้ปลูกสร้างบ้าน ให้กับท่านแล้ว ควรพิจารณารายละเอียดในสัญญาให้รอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งงวดงาน การรับประกันสิ่งปลูกสร้าง กำหนดเวลาแล้วเสร็จหรือเงื่อนไขอื่นๆ จนเป็นที่พอใจ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาข้อขัดแย้งในภายหลัง เพราะหากดำเนินการก่อสร้างไปแล้วเกิดข้อขัดแย้งจะทำให้เกิดผลกระทบในทางลบ ของทุกฝ่าย
5. การจัดเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง
หลังจากที่ทำสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านแล้ว ท่านจะต้องจัดเตรียมสถานที่ก่อสร้างบ้านของท่านให้พร้อมที่จะลงมือดำเนินการ ก่อสร้าง เช่น ถ้ามีบ้านเก่าอยู่ก่อนต้องรื้อถอนให้เรียบร้อยหรือถ้าเป็นพื้นที่มีระดับต่ำ ต้องทำการถมบดอัดให้สูงพ้นจากสภาวะน้ำท่วมให้แล้วเสร็จ แต่ถ้าต้องมีการย้ายเสาไฟฟ้า ประปา หรือสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่กีดขวาง ก็ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนที่จะแจ้งให้บริษัทเข้าดำเนินการ
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อแนะนำในขั้นตอนการปลูกสร้างบ้าน ให้ท่านได้ศึกษา เตรียมพร้อมก่อนที่จะทำการตัดสินใจลงมือปลูกสร้างบ้านเท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีรายละเอียดในส่วนที่ต้องตรวจสอบในระหว่างการก่อสร้างอีกมากมายที่ ต้องดำเนินการ
อย่างไรก็ตามหากท่านสามารถปฎิบัติได้ตามขั้นตอนขั้นต้นแล้ว ความผิดพลาดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการปลูกสร้างบ้านจะมีน้อยมากหรืออาจไม่มีเลยก็ได้ แล้วบ้านก็จะเป็นสถานที่ให้ความสุขกับท่านและครอบครัวตลอดไป
6. ขั้นตอนงานก่อสร้าง
ปกติแบ้วงานก่อสร้างบ้านพักอาศัยจะแบ่งลักษณะงานเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
6.1 งานฐานราก และโครงสร้าง
6.2 งานผนังและหลังคา
6.3 งานช่องเปิดต่างๆ
6.4 งานระบบไฟฟ้า ประปา
6.5 งานตกแต่งสถาปัตยกรรม

6.1 งานฐานราก และโครงสร้าง

เป็นงานที่มีความสำคัญที่สุด โดยปกติหากมีความผิดพลาดในงานส่วนนี้ หรือต้องการเปลี่ยนแปลงภายหลังจะมีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสูง ดังนั้นท่านเจ้าของบ้านควรตัดสินใจให้แน่นอนเกี่ยวกับขนาดของห้องต่างๆ และตำแหน่งที่ตั้งก่อนลงมือตอกเสาเข็ม เพื่อป้องกันปัญหาการเปลี่ยนแปลงหลังจากงานโครงสร้างเริ่มต้นไปแล้วเนื่อง จากในการออกแบบโครงสร้างจะมีความสัมพันธ์กันทั้งอาคารการเปลี่ยนแปลงแฉพาะ ส่วนใดส่วนหนึ่ง บางครั้งจะกระทำมิได้ อีกทั้งการก่อสร้างในช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 35% ของเวลาทั้งหมด และจะเป็นอุปสรรคต่องานอื่นๆ หากไม่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้
6.2 งานผนังและหลังคา
งานส่วนนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสวยงามของตัวบ้าน และยังมีผลโดยตรงต่อการใช้งานอาคารในด้านการป้องกันความร้อนฐ แสงแดด และน้ำฝน การตัดสินใจเลือกวัสดุที่จะใช้และขนาดระยะต่างๆ จะต้องเหมาะสมกับการใช้สอยและไม่ก่อให้เกิดปัญหาภายหลัง
6.3 งานช่องเปิดต่างๆ
หมายถึงประตูและหน้าต่างทั้งหลาย ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มความสวยงามให้อาคารแล้วยังมีผลต่อระยะเวลาก่อสร้าง เนื่องจากโดยปกติงานส่วนนี้จะต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้าตั้งแต่การจัดเตรียม ช่องเปิดของผนัง และการสั่งผลิตจากผู้จัดจำหน่าย อีกทั้งจะกระทบต่อการจัดวางตำแหน่งของเฟอร์นิเจอร์และงานระบบต่างๆ การตัดสินใจกำหนดตำแหน่งจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้น หากมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ระหว่างก่อสร้างจะกระทบถึงค่าใช้จ่ายในงานก่อ สร้างมากที่สุด
6.4 งานระบบไฟฟ้า ประปา
ศูนย์อำนวยความสะดวกของอาคารคืองานระบบเหล่านี้ หากถูกออกแบบมาไม่เหมาะสม หรือติดตั้งผิดตำแหน่งจะทำให้การใช้ประโยชน์ในอาคารเกิดความไม่สะดวกหรือ เกิดอันตรายในบางกรณี เช่นงารไฟฟ้า ดังนั้นจะต้องไตร่ตรองถึงการใช้สอยในส่วนต่างๆ ของอาคารให้รอบคอบก่อนกำหนดตำแหน่งลงไป
6.5 งานตกแต่งสถาปัตยกรรม
สุดท้ายบ้านจะสวยงามเป็นที่ภาคภูมิใจของท่านเจ้าของบ้านเพียงใดขึ้นอยู่กับ การเลือกประเภทวัสดุตกแต่งผิว ทั้งผิวพื้น ผนัง รวมถึงสีที่เลือกใช้ล้วนบ่งบอก รสนิยม อุปนิสัย บางครั้งรวมถึง ความปลอดภัยในการอยู่อาศัย เช่นวัสดุพื้นที่ลื่นหรือหยาบในบางตำแหน่ง และมักจะเป็นส่วนที่มีมูลค่ามากเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของอาคาร ทั้งนี้มิได้หมายความว่าวัสดุตกแต่งที่มีราคาแพงจะต้องดีเสมอไป ซึ่งผู้ที่จะช่วยท่านตัดสินใจได้ดีในเรื่องนี้คือ สถาปนิกที่ปรึกษาของท่านนั้นเอง

-------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลจาก : www.perfectbuilder.co.th